เมนู...ตระกูลทอง
ขนมทองหยิบ
ขนมทองชมพูนุช
ขนมทองเอก
ขนมทองอัฐ
ขนมทองม้วน
ขนมทองนพคุณ
ขนมทองพลุ
ขนมทองทัต
ขนมทองหยอด
ข้อน่ารู้เกี่ยวกับขนมไทย
ความหมายดีๆ ของขนมไทย

        ขนมไทย เป็นของหวานที่ทำและรับประทานกัน
   ในอาณาจักรไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย
   คือมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ
   วิธีการทำที่พิถีพิถันรสชาติอร่อยหอมหวาน
   สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน
   ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานที่ปราณีตบรรจงของขนมแต่ละชนิด
   ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
   ขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่างๆ
   เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนมจากไข่
   และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ งานศิริมงคลต่างๆ
   เช่น งานมงคลสมรส ทำบุญวันเกิด
   หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระกับแขก
   ที่มาในงาน เพื่อเป็นศิริมงคลของงานขนมก็จะมีฝอยทอง
   เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อน  
   ขั้นเงินเดือนขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู
   ขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น
   ของหวานไทยหรือขนมไทย กล่าวได้ว่ามีอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน
   เพราะเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า...
   คนไทยเป็นคนมีลักษณนิสัย อย่างไร เนื่องด้วยขนมไทยแต่ละชนิด
   ล้วนมีเสน่ห์มี รสชาติ ที่แตกต่างกันออกไป
   แต่แฝงไปด้วยความละเมียดละไม ความวิจิตรบรรจง
   อยู่ในรูปลักษณ์ กลิ่น รสของขนมที่สำคัญ
   ขนมไทยแสดงให้เห็นว่าเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ
   ขนมธรรมดาๆ ทำด้วยแป้ง น้ำตาล มะพร้าว
   เป็นส่วนประกอบ สำคัญ สามารถดัดแปลงเป็นขนมหลายชนิด
   หน้าตา แตกต่างกันในสมัยโบราณคนไทยจะทำขนม
   เฉพาะวาระสำคัญเท่านั้นเป็นต้นว่างานทำบุญ เทศกาลสำคัญ
   หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็น
   ต้องใช้กำลังคนอาศัยเวลาในการทำพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น
   ขนมประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน
   ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ พวกนี้มีเห็นทั่วไป
   ส่วนขนมในรั้วในวังจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋ม
   ประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม





 



   


 

 

 

 



 

 


 

ขนมไทย

 

ขนมทองชมพูนุช

 

 

 

 

home

 

 

 

 

 

 

Free Web Hosting